บทความเกี่ยวกับ คลินิกเด็ก
คนเป็นคนที่ - 5051 [Date : 24 เม.ย. 2553 ]   
 
สงสัยเรื่อง IQ, EQ, LQ
 
วันที่ 24 เม.ย. 2553   โดย พ.ต.อ.ญ.นพมาศ ชูวรเวช
 
 












สงสัยเรื่อง IQ, EQ, LQ

หนูมีเรื่องอยากจะเรียนถามคุณหมอเกี่ยวกับเรื่องความสามารถทางด้านต่างๆ ซึ่งแต่ก่อนเรามักจะเคยได้ยินแต่คำว่า IQ แล้วก็เริ่มจะมีคำว่า EQ เข้ามาอีก แต่หลังๆ นี้ได้ยินคำประเภทนี้มากมายเลยนะคะคุณหมอ อย่าง MQ ที่เขาหมายความถึง Moral Quotient หรือ LQ ที่หมายถึงLeadership Quotient และดูทีท่าแล้วจะมีอะไรคิวๆ อีกเยอะแยะมากเลยใช่มั้ยคะคุณหมอ จึงอยากจะถามว่าเราจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ทักษะแบบนี้ให้ครบทุกตัวเลยหรือเปล่าคะ และอยากจะทราบจริงๆ ว่า มีครบตั้งแต่ A-Z หรือเปล่า

ขอขอบคุณหมอมากเลยค่ะ ขอให้คุณหมอมีสุขภาพที่แข็งแรงต่อไปนานๆ นะคะ

คุณแม่เจ้าปัญหา


คุณถามเกี่ยวกับ IQ, EQ, MQ, LQ ต่อไปจะมีอีกกี่ Q ก็ไม่ทราบนะคะ แต่คุณควรรู้จักแต่ละเรื่องให้เข้าใจ เพื่อไว้พัฒนาลูกคุณ ไม่ทราบว่าคุณมีลูกแล้วกี่คน เพราะเด็กแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน บางคนก็เหมือนสร้างมาจากเงิน บางคนก็เหมือนสร้างมาจากทอง บางคนก็เหมือนสร้างมาจากดินหรือหินหรือทราย จะขอพูดถึง Q แต่ละชนิดค่ะ
IQ หมายถึงเชาว์ปัญญาของเด็ก ในเด็กแต่ละคนจะมีเชาวน์ปัญญาสามารถวัดได้ดังนี้

การวัดเชาวน์ปัญญามีหลายวิธี เป็นวิธีสอบถามตามที่มีแบบทดสอบตามมาตรฐานใช้ศึกษาพฤติกรรม ซึ่งเกี่ยวกับความสามารถของบุคคลเพื่อดูว่าบุคคลนั้นๆ ทำอะไรได้ดีที่สุด คะแนนที่ได้จะเรียกสั้นๆ ว่า IQ (Intelligenece Quotient)


ระดับเชาวน์ปัญญากับค่า IQ
ค่า IQลำดับความสามารถทางเชาวน์ปัญญา
    130 และสูงกว่า
ดีเลิศ (Very Superior)
    120-129
ดี (Superior)
    110-119
ค่อนข้างดี (High Average)
    90-109
เฉลี่ย (Average)
    80-89
ค่อนข้างด้อย (Low Average)
    70-79
คาบเส้น (Borderline)
    60 และต่ำกว่า
ปัญญาอ่อน (Mentally Deficient)


ดังนั้น IQ เป็นตัวเลขบ่งชี้ถึงเชาวน์ปัญญาในเวลาที่มาทดสอบและขณะทดสอบเท่านั้น ว่ามีความสามารถมากน้อยเพียงใดและนำไปเปรียบเทียบกับกลุ่มคนในลักษณะและระดับอายุรุ่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น ผู้มาทดสอบไม่ตอบคำถาม อยู่ในอารมณ์โกรธเพราะถูกบังคับให้มาทดสอบ หรือเหนื่อยเพลีย ไม่ร่วมมือในการทดสอบ ผู้ทำการทดสอบใช้เครื่องมือไม่เป็น สภาพแวดล้อมในการทดสอบมีเสียงดังรบกวน ไม่ทำให้มีสมาธิในการทดสอบได้ดี เป็นต้น

EQ (Emotional Quotient หรือ Emotional Intelligenge) ซึ่งเขียนโดยแดเนียลโกลแมน ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา ผู้มีปริญญาเอกของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ (New York Times) ในปีพ.ศ.2538 ว่า ความฉลาดทางอารมณ์หรือการพัฒนาทางอารมณ์เป็นความสำคัญด้วย ถึงแม้ว่าจะมีเชาวน์ปัญญษที่ดีเลิศ แต่ไม่มีการพัฒนาทางอารมณ์ก็ไม่สามารถนำชีวิตให้ประสบความสำเร็จได้อย่างมีความสุข

ความฉลาดทางอารมณ์เป็นการพัฒนาอุปนิสัยในด้านต่างๆ คือ ด้านบุคคลคือการรู้จักตนเอง ควบคุมอารมณ์ตัวเอง ความสามารถในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เป็นต้น

ด้านสังคมคือ การเข้าใจเห็นใจคนอื่น คือการเอาใจเขามาใส่ใจเรา ถ้าเราอยู่ในฐานะผู้ถูกเอาเปรียบ ในฐานะผู้ถูกใส่ร้ายจะแก้ไขอย่างไร จะลดความเครียดอย่างไร

รวมแล้วให้ฝึกเด็กให้มี EQ คือมีการฝึกการอยู่ในเหตุการณ์ต่างๆ การแก้ปัญหาตามอายุเด็ก ฝึกให้เด็กรู้จักตั้งสติแล้วใช้สตินั้นแก้ไขปัญหาต่อไป เขาก็สามารถดูแลตัวเองด้วยสติคือ รู้จักตัวเอง เห็นใจคนอื่น รู้จักสังคมช่วยเหลือผู้อื่นตามสมควร หัดไม่ให้ถูกคนอื่นหลอกลวง หรือรับของคนอื่นง่ายๆ เช่น ท๊อฟฟี่ หมากฝรั่ง อาจนำมาซึ่งสิ่งเสพย์ติด ต้องฝึกสถานการณ์ให้เด็กรู้จักสังเกตว่าไม่ใช่แต่งตัวดี หล่อสวยจะเป็นคนดีทั้งหมดหรือทำอย่างไรเมื่อถูกลวนลามทางเพศ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องยากมากๆ สังคมขณะนี้จึงต้องฝึกให้เด็ก "แกร่ง" และเก่งด้วย จึงจะเอาตัวรอดมีความสุขและเป็นคนดีในสังคมต่อไป

ก่อนอื่นขอให้ผู้ใหญ่ทั้งหลายที่หลงผิด ชอบประพฤติผิดทั้งหลายตั้งสติว่าต่อไปนี้ จะทำแต่สิ่งที่ดีกว่าเมื่อวานนี้จะช่วยให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าพ้นวิกฤตได้ค่ะ หวังว่าเมื่อคุณฝึกลูกคุณให้มี EQ แล้ว คือจะรวมทุก Q ไว้แล้วก็คงมีความสุขในโลกนี้ ด้วยความเจริญก้าวหน้าในชีวิตค่ะ สามารถแก้ปัญหาและลดความเครียดลงได้จนเป็นปกติค่ะ

พ.ต.อ.ญ.นพมาศ ชูวรเวช




(update 5 กรกฎาคม 2002)
[ ที่มา... นิตยสารแม่และเด็ก   ปีที่ 24 ฉบับที่ 350 เมษายน 2544 ]

 
 

[ ที่มา...http://www.elib-online.com/childclinic/child_clinicpsy45036.html ]

URL Link : http://www.elib-online.com/childclinic/child_clinicpsy45036.html

 

     
   


[Home] [โรคเด็ก] [เสพสมให้สมอารมณ์หมาย] [คู่มือเลี้ยงลูก] [คลินิกเด็ก] [ผู้สูงวัย] [ครอบครัว] [คุมกำเนิด] [วัยรุ่น] [เบี่ยงเบน] [กฏหมาย] [สุขภาพจิต] [ผู้หญิง ผู้หญิง] [กามโรค]