|
เตือนแม่ตั้งครรภ์ รู้ทันอันตรายของ ยา |
 |
|
|
|
วันที่ 14 เม.ย. 2553 โดย นิตยสารบันทึกคุณแม่ |
|
|
|
|
|
|
|
|
: เตือนแม่ตั้งครรภ์ รู้ทันอันตรายของ ยา |
|
|
|
|
|

การตั้งครรภ์นั้นเป็นช่วงเวลาแห่งความปลาบปลื้มยินดีโดยเฉพาะถ้าเป็นท้องแรกด้วยแล้วคุณพ่อคุณแม่ต่างสวมเสื้อเบอร์ห้า (บ้าเห่อ) ด้วยกันทั้งคู่ และทั้งคุณพ่อคุณแม่ย่อมอยากจะเห็นลูกน้อยที่เฝ้าคอย ว่ามีสุขภาพแข็งแรง มีอวัยวะครบถ้วน 32 ประการอย่างแน่นอน ดังนั้นจึงมีคุณแม่จำนวนไม่น้อยทีเดียวที่มีความวิตกกังวล หากต้องใช้ยาในช่วงนี้ ทั้งนี้ เนื่องจากยาส่วนใหญ่ยิ่งถ้าเป็นยากิน หรือยาฉีดด้วยแล้วจะมีอำนาจทะลุทะลวงสูงมากจึงสามารถผ่านรกไปสู่ลูกน้อยในครรภ์ได้ไม่มากก็น้อยขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของยาที่ได้รับหากคุณแม่ได้รับยาที่เป็นอันตรายโดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ จะทำให้เกิดความพิการทางด้านรูปร่าง เช่น ริมฝีปากแหว่ง เพดานโหว่ แขนขากุด และถ้าได้รับในช่วงหลังจากนี้จะทำให้เกิดความพิการทางด้านประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น ปัญญาอ่อน กระดูกผุกร่อน เด็กคลอดออกมาจะมีน้ำหนักน้อย และเจริญเติบโตช้า ซึ่งล้วนเป็นเรื่องน่าเศร้าทั้งสิ้น เมื่อไม่มีคุณพ่อคุณแม่ท่านใดต้องการเห็นลูกรักที่เฝ้าทะนุถนอม ต้องพบกับความพิการโดยไม่ตั้งใจ จาการใช้ยาที่เป็นอันตรายคุณแม่จึงควรสนใจอาการเจ็บไข้ได้ป่วยในช่วงตั้งครรภ์ และคงต้องทำใจสักนิด เนื่องจากบางครั้งมีชื่อยาเป็นภาษาอังกฤษชนิดที่ไม่คุ้นเคยเอาเลย ส่วนคุณพ่อเองก็มีบทบาทไม่น้อยในการที่จะเป็นผู้ช่วยนางเอก (คุณแม่) คอยกระตุ้นเตือนให้คุณแม่มีความระมัดระวังในการใช้ยา บางครั้งถ้าจำเป็นต้องซื้อยากินเองซึ่งไม่อยากแนะนำ เพราะมีโอกาสเสี่ยงต่อการได้รับยาอันตรายกับทารกในครรภ์ก็เป็นได้ ยาที่เกี่ยวข้องกับคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ 1. ยารักษาอาการแพ้ท้อง อาการแพ้ท้องส่วนใหญ่ 50% ของคุณแม่ตั้งครรภ์ จะมีอาการในช่วง 3 เดือนแรก ซึ่งมักจะหนีไม่พ้นอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตอนเช้า บางคนเหมาเอาตลอดทั้งวันเลยก็มี จึงไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าจะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหารน้ำหนักลดตามมาด้วย จะมีประมาณ 10% เท่านั้นที่มีอาการรุนแรง โดยจะทำให้คุณแม่เกิดภาวะโลหิตจางขาดเกลือแร่และน้ำ ซึ่งเป็นอันตรายมาก ส่วนหนูน้อยๆ ก็ขาดอาหารน้ำหนักน้อย และอาจคลอดก่อนกำหนด ยาที่ใช้ในการรักษาอาการแพ้ท้องนั้น ที่ปลอดภัยและแนะนำให้ใช้จริงๆ มีเพียงไม่กี่ตัว เพราะในสมัยก่อนยาที่คิดว่าปลอดภัยให้ผลดีกลับมีผลเสียอย่างมาก คือทำให้ทารกที่คลอดออกมามีความพิการ แขนขากุด จนปัจจุบันเลิกใช้ไปแล้วและทำให้ต้องตระหนักในเรื่องการใช้ยาในระหว่างตั้งครรภ์มากขึ้น ปัจจุบันยาที่ยังได้ชื่อว่าปลอดภัยจึงเหลือเพียง 2 ตัว คือ วิตามินบี 6 ขนาด 50 มิลลิกรัม ซึ่งแนะนำให้กินก่อนนอน 2 เม็ด แต่ถ้ามีอาการมาก อนุญาตให้กินหลังอาหารเช้าอีก 1 เม็ด และตอนแดดร่มลมตกประมาณบ่าย 3 โมงได้อีก 1 เม็ด สำหรับกลไกในการบรรทมนั้น จริงๆ ยังไม่มีใครทราบ คงต้องรอผลการวิจัยค้นคว้าต่อไป ไดเมนไฮดริเนต ขนาด 50 มิลลิกรัม ยานี้ให้กินก่อนเวลาที่คิดว่าจะเกิดอาการประมาณครึ่งชั่วโมง ครั้งละ 1 เม็ด เพื่อการป้องกัน ขนาดสูงสุดคือ กินวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 เม็ด ซึ่งให้ผลการรักษาดีปานกลาง แต่มีข้อเสียอยู่บ้างคือ ทำให้เกิดอาการง่วงซึม มึนงง ปากแห้ง ฯลฯ มีชื่อการค้า เช่น ดรามามีน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่มีอาการไม่มาก และไม่อยากจะใช้ยาก็ยังมีวิธีปฏิบัติตนที่ไม่ยากจนเกินไป ซึ่งได้แก่วิธีดังนี้ - ทำจิตใจให้สดชื่น แจ่มใส ลดความวิตกกังวล จะได้ลืมไปได้บ้าง ถึงแม้ชั่วคราวก็ยังดี
- หลังจากตื่นนอนรับประทานเครื่องดื่มร้อนๆ เช่น นม
- อย่าปล่อยให้ท้องว่าง ควรรับประทานอาหารบ่อยๆ และปริมาณน้อยๆ ไม่กินอิ่มเกินไป
- หลีกเลี่ยงอาหารมัน รสจัด และกลิ่นรุนแรง
- ดื่มน้ำให้พอเพียง เพราะช่วงอาเจียนจะสูญเสียน้ำ และเกลือแร่ ทำให้อ่อนเพลีย
2. ยาแก้หวัดและยาแก้แพ้ อาการแพ้และอาการเป็นหวัดคัดจมูกนั้น เป็นอาการที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในช่วงการเปลี่ยนฤดูและสภาพสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันที่แย่ลงๆ (แถมคุณแม่บางท่านอาจพกพาอาการ ภูมิแพ้ ติดตัวมาแต่ปางก่อน เลยมีอาการคล้ายเป็นหวัดตลอดปี) เวลาปกติเมื่อยังไม่มีน้องน้อยๆ ในท้อง แล้วต้องมาทานยา กลุ่มนี้ ก็ยังไม่เท่าไหร่ แต่เมื่อตั้งครรภ์คุณแม่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเลือก ยาที่ปลอดภัยที่สุด ยาที่ปลอดภัย (เพราะเป็นยาโบราณใช้มานานและยังไม่มีรายงานความพิการในคน) คือ ยาแก้แพ้คลอร์เฟนนิรามีน หลายท่านคงเคยเห็นเคยใช้ยาตัวนี้ จะกินเมื่อมีอาการแพ้ คัน แถมยังช่วยลดน้ำมูก (โดยทำให้น้ำมูกแห้ง) อีกด้วย แต่มีผลข้างเคียงหรือข้อเสีย คือ ทำให้เกิดอาการปากแห้ง ง่วงซึม มึนงง ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูกบางตัวที่นิยมใช้กันมาก ได้แก่ โตรโปรลิดีน หลายคนรู้จักในชื่อการค้าว่า แอนติเฟด ยังใช้ได้ปลอดภัย แม้ว่ายังไม่มีรายงานเรื่องความพิการในทารก ต้องขอให้ระวังอีกนิด ในบางท่านที่ซื้อยากินเองเพราะคนที่จ่ายอาจไม่ทราบว่าคุณแม่กำลังตั้งครรภ์อยู่คุณแม่เองก็อาจลืมบอกด้วย จึงมีโอกาสได้รับยาอันตราย คือ บรอมเฟนนิรามีน ยาตัวนี้ไม่ควรใช้ในสตรีมีครรภ์ เนื่องจากมีรายงานว่ามีโอกาสทำให้ทารกพิการได้ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่จึงควรใช้ด้วยความระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงการใช้ในช่วงเวลาดังกล่าว เนื่องจากยากินมักจะมีผลต่อทารกในครรภ์ จึงได้มีการผลิตยาบรรเทาหวัดคัดจมูกในรูปของยาหยด หรือยาพ่นจมูก ซึ่งเป็นยาใช้เฉพาะที่จึงแทบไม่ถูกดูดซึมไปยังทารกในครรภ์เลย ดังนั้นจึงปลอดภัยมากกว่า แต่มีข้อเสียอยู่บ้าง คือ เทคนิคการใช้พ่นหรือหยดถูกต้อง มิฉะนั้นยาจะกระจายไปทั่วโพรงจมูก และไม่ควรใช้ติดต่อกันนานเกิน 10 วัน เพราะจะทำให้รู้สึกว่าไม่ได้ผลในการรักษา จนทำให้ต้องพ่นยามากขึ้นถี่ขึ้น จนทำให้เยื่อจมูกแห้ง และอักเสบได้ ซึ่งจะกลับกลายเป็นผลเสียไป คัดจมูกไม่มากนัก วิธีธรรมชาติธรรมดาๆ ใช้ได้ผลดีและปลอดภัยกว่าเยอะ - สูดดมไอน้ำร้อน ดมหรือทายาน้ำมันหอมระเหย เช่น ยาดมซึ่งจะมียาทาในหลอดเดียวกัน หรือไม่มีก็ใช้ได้ทั้งนั้น ไม่ถือว่าผิดกติกา
- รักษาร่างกายให้อบอุ่น และดื่มน้ำมากๆ
3. ยาแก้ไอขับเสมหะ การไอเป็นกลไกธรรมชาติของร่างกายในการขับสารที่ระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจออกไป แต่ถ้าคุณแม่ไอมาก ไอจนสั่นตัวคลอนนอนไม่ได้ ทำให้เหนื่อย การพักผ่อนน้อยลง คงไม่ดีแน่สำหรับทารกในครรภ์ จิบบ่อยๆ แต่ถ้าไม่ดีขึ้น การใช้ยาแก้ไอ จึงเป็นสิ่งที่อาจจำเป็น ยาแก้ไอบางชนิด จะมีตัวยาที่กดศูนย์ไอที่สมอง และเป็นส่วนประกอบของฝิ่น จึงไม่ควรใช้ยาติดต่อกันนานเกินไป เพราะจะทำให้เสพติดได้ ยาชนิดนี้จะขับการไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ ตัวอย่างเช่น ยาแก้ไอน้ำดำขององค์การเภสัชกรรม นอกจากนี้ยังไม่เหมาะจะใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปีด้วย เนื่องจากผลข้างเคียงยา ทำให้ง่วงซึม ในเด็กเล็กอาจกดการหายใจ ทำให้หยุดหายใจได้ คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรระมัดระวังในการใช้ยานี้เช่นกัน 4. บาบรรเทาปวด ลดไข้ อาการปวด และไข้ เปรียบเสมือนสัญญาณเตือน (ภัย) ว่าคุณแม่ควรพักผ่อนให้มากขึ้น ถ้ามีอาการปวด เช่น ปวดเมื่อย หากไม่มากนักใช้ยา ครีมนวด จะปลอดภัยดีกว่า เพราะเป็นยาภายนอก แต่ถ้าปวดมากหรือมีอาการปวดอื่นๆ เช่น ปวดศรีษะ มีไข้ ยาที่ปลอดภัยและคุ้นเคยรู้จักกันดีคือ ยาพารา หรือชื่อเต็มๆ คือพาราเซตามอล (ขนาด 500 มิลลิกรัม) โดยทานครั้งละ 1-2 เม็ดทุก 4-6 ชั่วโมง เวลามีอาการปวดหรือมีไข้ ทั้งนี้ไม่ควรกินเกินวันละ 24 เม็ด หรือติดต่อกันนานเกิน 10 วันในผู้ใหญ่ ส่วนในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ยานี้ก็จะมีข้อจำกัดในการใช้มากขึ้น ยาบรรเทาปวดลดไข้ ที่อยากจะพูดถึงอีกตัวคือ แอสไพริน ถึงแม้ว่าจะเป็นยาที่มีราคาถูกกว่าออกฤทธิ์ได้ดีกว่า รวดเร็วกว่า อีกทั้งยังมีฤทธิ์บรรเทาอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็น ข้อต่อ ดีกว่ายาพารา แต่ในคุณแม่ตั้งครรภ์ 3 เดือนก่อนคลอดไม่แนะนำให้ใช้แอสไพริน เนื่องจากยาจะทำให้การหดรัดตัวของมดลูกลดลง การเจ็บครรภ์ยาวนานเกินกำหนด และยังลดการเกาะตัวกันของเลือด จึงทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือดก่อนคลอด ดังนั้น ยาพาราเซตามอลจึงปลอดภัยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับยาอื่นๆ แต่ถ้าคุณแม่มีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับตับและไตก็ควรขอคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกร ไม่ควรซื้อยามากินเองถึงแม้ว่าจะเป็นยาพื้นๆ เช่น ยาพาราก็ตาม 5. ยาบำรุง วิตามิน และเกลือแร่ ในช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่ ควรตระหนักถึงคุณค่าและปริมาณอาหารที่ได้รับโดยไม่จำเป็นต้องเน้นอาหารพวกแป้งและไขมันมากนัก เพราะอาจจะทำให้ตุ้ยนุ้ยได้ในที่สุด (อดเป็นคุณแม่คุณภาพหุ่นงานกันพอดี) หากคุณแม่ทานอาหารถูกหลักโภชนาการ ก็จะไม่มีปัญหาการขาดวิตามินและเกลือแร่ แต่อย่างไรก็ตามในช่วงตั้งครรภ์เป็นช่วงที่ร่างกายต้องการวิตามิน และแร่ธาตุบางชนิดเพิ่มขึ้นกว่าปกติ เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม ดังนั้นจึงอาจได้รับวิตามินและแร่ธาตุเสริมในรูป ยา สิ่งสำคัญคือไม่ควรกระหน่ำกินวิตามินจนมากเกินไปโดยเฉพาะวิตามินที่สะสมในร่างกาย เช่น วิตามิน เอ, ดี, อี, เค, เพราะอาจเป็นพิษได้ เพราะแม้แต่วิตามินบีและซี เพราะทารกที่คลอดออกมาจะมีอาการเหมือนขาดวิตามิน 6. ยาต้านการติดเชื้อ มักเรียกกันว่า ยาแก้อักเสบ ซึ่งจริงๆ ถูกละไว้ในฐานที่เข้าใจที่ถูกต้องว่ายาแก้อักเสบจากการติดเชื้อโรค (ซึ่งยาวไปจนงง) ยาแก้อักเสบที่คุณแม่จะมีโอกาสพบได้บ่อยและควรทราบไว้บ้างดังนี้ คือ - กลุ่มเพนนิซิลิน ได้แก่ ยาเพนวี แอมพิซิลลิน คล๊อกซาซิลิน ซึ่งจัดเป็นกลุ่มยาที่ปลอดภัย ยกเว้นผู้ที่แพ้ยานี้อาจเลี่ยงไปใช้ยาอีริโทรมัยซินแทน
- ยากลุ่มที่เป็นอันตราย ได้แก่ เตตร้าซัยคลิน ซึ่งจะชอบเกาะกับเคลือบฟัน และกระดูก ทำให้ทารกคลอดออกมามีฟันเหลืองดำ กระดูกไม่แข็งแรง ทั้งมีรายงานการเกิดต้อกระจก จึงควรหลีกเลี่ยงยานี้ และยาในกลุ่มนี้ (เช่นด๊อกซีซัยคลีน) อีกทั้งยังไม่ควรใช้ในคุณแม่ที่ให้นมบุตร และเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ ด้วยเหตุผลดังกล่าว อีกประการหนึ่งคือหากยาหมดอายุหรือเสื่อมสภาพ ยังมีผลต่อตับและไตของคุณแม่อีกด้วย จึงนับว่าอันตรายมาก
- ยากลุ่มซัลโฟนาไมด์ ยากลุ่มนี้ ถึงแม้ว่าจะไม่เพิ่มความพิการให้ทารก แต่ก็ไม่แนะนำให้ใช้ในช่วงเวลาใกล้คลอด เนื่องอาจทำให้ทารกมีอาการคล้ายดีซ่าน คือ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะมีฟอง และอาจจะสมองเสื่อม และปัญญาอ่อนได้ในที่สุด อย่างไรก็ตามยานี้มักนิยมใช้เป็นยารักษาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
- ยาคลอแรมเฟนิคอล ยานี้จะมีผลทำให้เด็กมีอาการขาดออกซิเจน ตัวเป็นสีเขียวเทา อ่อนปวกเปียก อาจตายเมื่อคลอด ปกติไม่ค่อยนิยมใช้ มักใช้ในการติดเชื้อของไขสันหลังและเยื่อหุ้มสมอง สำหรับโรคติดเชื้อชนิดอื่นๆ เช่น มาลาเรีย วัณโรค ไวรัส และพยาธิ ยาที่ใช้อาจมีผลต่อทารกในครรภ์จึงควรมาพบแพทย์เพื่อจะไดรับการรักษาที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง เพราะโรคบางชนิดหากรุนแรงจะเป็นอันตรายต่อทารกและตัวคุณแม่อีกด้วย
7. ยาระบาย และยารักษาโรคท้องร่วง ท้องเสีย ปัญหาท้องผูกเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยเช่นกันในคุณแม่ตั้งครรภ์ คำแนะนำที่ดีที่สุด คือ ควรรับประทานผักผลไม้ที่ให้กากหรือไฟเบอร์มากๆ เช่น พรุน และดื่มน้ำให้เพียงพอ แต่ถ้าอดกลั้นไว้จนอึดอัดจำเป็นต้องใช้ยาควรใช้ยาที่ออกฤทธิ์นุ่มนวลไม่รุนแรงจนเกินไป ควรใช้ยาที่เลียนแบบกลไกการขับถ่ายธรรมชาติ เช่น ยาที่ผลิตจากเมล็ดเทียนเกล็ดหอย (มีชื่อการค้าเช่น เมตามูซิล) ละลายชงกับน้ำเย็นรับประทานยาที่ผลิตจากมะขามแขก เช่น สโนกอต หรือใช้ยาสอดเข้าทางทวารหนัก เช่น ดัลคอแลกซ์ สามารถช่วยให้ถ่ายอุจจาระได้ง่ายขึ้น แต่ควรใช้เมื่อจำเป็นจริงๆ หากใช้พร่ำเพรื่อจะทำให้ร่างกายเคยชินกับการกระตุ้นจนต้องใช้ยาช่วยถ่ายเสมอ อีกประการหนึ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ภาวะความเป็นกรด และการบีบตัวของลำไส้ อาจลดลงก่อให้เกิดอาการท้องเสียได้อีกเช่นกัน ถ้าท้องเสียเนื่องจากการติดเชื้อ ยาฆ่าเชื้อที่ปลอดภัยควรเป็น แอมพิซิลลิน หรืออม๊อกซิซิลลิน ไม่ควรใช้ยาที่ไม่ปลอดภัยที่ได้กล่าวมาแล้วในหัวข้อ ยาแก้อักเสบ และไม่ควรใช้ยาที่ช่วยให้หยุดถ่ายอุจจาระทันที เพราะจะทำให้เชื้อโรคคั่งค้างอยู่ในลำไส้แทนที่จะขับออกมา ที่สำคัญ เมื่อเกิดอาการท้องเสีย ย่อมอ่อนเพลีย เนื่องจากสูญเสียน้ำและเกลือแร่จึงควรทดแทนด้วยการดื่มน้ำเกลือจึงควรทดแทนด้วยการดื่มน้ำเกลืออิเล็คโตรไลท์ หรือโอ.อาร์.เอส แต่หากมีอาการรุนแรงมากไม่ดีขึ้นหลังการงดอาหารและทานน้ำเกลือแร่ทดแทนแล้ว ควรไปพบแพทย์ ยาทั้ง 7 กลุ่มที่กล่าวมานี้ แม้จะยังคลอบคลุมไม่หมดทุกโรค แต่เป็นยาที่ใช้บ่อยอย่างไรก็ตาม คงมีส่วนให้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ได้ตระหนักในเรื่อง การใช้ยา ได้มากยิ่งขึ้น กล่าวคือ ในโรคภัยไข้เจ็บเล็กๆ น้อยๆ หากไม่ใช้ยาหรือถ้าใช้ก็ใช้ให้น้อยที่สุดและพยายามเลือกยาที่มีผลข้างเคียงและอันตรายต่อทารกให้น้อยที่สุด สำหรับยากลุ่มปฏิชีวนะ หรือยาแก้อักเสบจากการติดเชื้อ ไม่ควรจะซื้อทานเอง เพราะอาจเสี่ยงต่อการได้รับยาหมดอายุ เสื่อมสภาพ และการแพ้ยาได้ ในกรณีนี้ควรมาพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง ได้รับยาที่มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยต่อชีวิตน้อยๆ ในครรภ์
(update 16 สิงหาคม 2007) [ ที่มา.. นิตยสารบันทึกคุณแม่ No.166 May 2007] |
|
|
|
|
|
|
|
|
URL
Link :
http://www.elib-online.com/doctors50/lady_drug002.html |
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
|
|
|
|