|
ดนตรีมิติสัมพันธ์ คณิตศาสตร์ |
 |
|
|
|
วันที่ 11 เม.ย. 2551 โดย Pink Brain |
|
|
|
|
|
|
|
|

อันชนใดไม่มีดนตรีกาล ไม่สันดาลเป็นคนชอบกลนัก บทพระราชนิพนธ์จากเรื่องเวนิสวานิสของรัชกาลที่ 6 เรื่องนี้ใช้ได้ดีในทุกยุคทุกสมัย เพราะดนตรีนั้นนับว่าเป็นสิ่งล้ำค่าของมนุษยชาติเลยทีเดียวประโยชน์ของดนตรีมีมากกว่าความไพเราะที่เราได้ยินกันค่ะ ดนตรี VS. คณิตศาสตร์ ดนตรีคือเสียง เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนในอากาศ ซึ่งการสั่นสะเทือนนั้นเกิดจากเสียงร้อง เครื่องดนตรี หรือจากสิ่งของกระทบกัน เสียงถูกนำพาผ่านหูซึ่งเป็นอวัยวะรับเสียงของร่างกาย จากการเปลี่ยนของความกดอากาศ ซึ่งเสียงจะแตกต่างกันไปตามจังหวะ ทำนอง ระดับเสียง หูของเราก็ทำหน้าที่แปลงคลื่นเสียงเป็นการเคลื่อนไหวในหูชั้นกลางและชั้นในซึ่งจะถูกแปลงเป็นสัญญาณเดินทางไปยังสมองส่วน Auditory Cortex ในสมองส่วน Temporal Lobe จะทำให้เซลล์ของสมองส่วนนี้ทำงานประสานเชื่อมโยงกันดีส่งผลให้ทักษะทางมิติสัมพันธ์ ซึ่งใช้สมองส่วนเดียวกันนี้ดีตามไปด้วยนั่นเอง ดนตรีสร้างอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์ ในโลกของเรามีนักคณิตศาสตร์เก่งๆ มากมาย แต่สำหรับในเอเชียแล้วต้องขอยกตัวอย่างรามานุจัน นักคณิตศาสตร์ชาวอินเดีย บิดาแห่งทฤษฎีจำนวนสมัยใหม่ที่มีชื่อเสียงมากในการสังเกตรูปแบบที่น่าสนใจของตัวเลข และเขาก็ได้พบปรากฏการณ์ที่สวยงามของตัวเองอย่างน่าประหลาด นักคณิตศาสตร์เรียกทฤษฎีของรามานุจันว่า Ramanujan Congruence ซึ่งทฤษฎีที่เขาคิดค้นขึ้นนั้น ถูกนำไปดัดแปลงเป็นทฤษฎีทางฟิสิกส์มากมาย และถูกนำมาดัดแปลงใช้กับบัตรเครดิตที่เราใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนี้ไงคะ ความเก่งกาจของรามานุจันนั้น นักวิทยาศาสตร์ด้านสมองตั้งข้อสังเกตว่ามาจากดนตรี เนื่องจากถิ่นกำเนิดของเขาอยู่ทางตอนใต้ของอินเดีย ซึ่งมีคนเก่งคณิตศาสตร์มากกว่าคนภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ ที่สำคัญคือดนตรีพื้นเมืองในแถบนี้ที่เรียกว่า Cornatic Music น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะมีโครงสร้างที่ชัดเจนและมีรูปแบบทางคณิตศาสตร์ซึ่งส่งผลต่อการทกำงานของความคิดและการใช้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของผู้คนในแถบนี้รวมถึงรามานุจันด้วย นอกจากนี้ Mozart Effect ได้ปฏิวัติมุมมองดนตรีคลาสสิค เพลง K.448 ดูอัลเปียโนโซนาตา ในบันไดเสียงดีเมเจอร์ของคีตกวี วูลฟ์กัง อะมาดิฮุล โมซาร์ท สร้างความเปลี่ยนแปลงและตื่นตะลึงให้กับวงการสมองทั่วโลก เพลงนี้ยังมีอานุภาพมากกว่าความเพลิดเพลินเพราะมีงานวิจัยที่ยืนยันว่าการฟังเพลง K.448 มีผลต่อพัฒนาการทางสมองค่ะ ดร.ฟรานซิส เราส์เชอร์ จากภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยคอนซิน สหรัฐอเมริกา เป็นผู้ทำงานวิจัย โดยให้นักศึกษากลุ่มหนึ่งฟังเพลง K.448 ของโมซาร์ทเพื่อวัดระดับสติปัญญากลุ่มนี้ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้ฟังเพลงดังกล่าวและให้ทำการทดสอบ พบว่าบทเพลงทำให้ระดับความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้น ล่าสุดที่ ดร.ฟรานซิส เราส์เซอร์ ได้มาเยือนเมืองไทย ภายใต้การจัดงานของบริษัท รักลูกแฟมิลี่กรุ๊ป ได้ให้คำแนะนำกับพ่อแม่ว่า ดนตรีทุกประเภทดีกว่าการพัฒนาสมอง ยิ่งถ้าฝึกหัดให้ลูกเล่นดนตรี เช่น เปียโน กลอง ก็ยิ่งเกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น ดนตรีกับการพัฒนาสมอง ในปัจจุบันข้อมูลดนตรีกับการพัฒนาสมองได้แพร่หลายมากขึ้น จนอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนเข้าใจผิดว่ารีบส่งลูกเข้าโรงเรียนดนตรีเพื่อให้ลูกประสบความสำเร็จทางดนตรีเช่นเดียวกับโมซาร์ท (Mozart) แต่เด็กอาจไม่ชอบดนตรีก็มีวิธีกระตุ้นอื่นๆ ที่น่าสนใจมีอีกนะคะอย่างการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ดนตรีที่บ้าน เช่น การเปิดเพลงให้ฟัง การพาเด็กไปชมการแสดงดนตรี แต่ความเลือกประเภทของดนตรีที่ฟังด้วย เพราะดนตรีที่ส่งเสริมความคิดที่ดีต้องเป็นดนตรีที่กลั่นกรองมาดี เช่น ดนตรีคลาสสิค ดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีไทย ดนตรีที่ไม่ได้รับการปรุงแต่งหรือเสียงธรรมมชาติ เป็นต้นค่ะ อย่างไรก็ดี ประโยชน์ของดนตรียังมีอีกมากมายโดยเฉพาะขณะฟังดนตรีสมองจะหลั่งสารเอนโดร์ฟีน ซึ่งเป็นสารแห่งความสุขออกมา ส่งผลดีต่อการเรียนรู้ในด้านอื่น มีความจำดี เพราะหากเด็กมีความเครียดร่างกายจะหลั่งสารอะดรีนาลีน (Adrenalin) ซึ่งจะส่งผลให้สมองทำงานช้า ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพได้ อยากให้ลูกรู้จักและรักในเสียงดนตรี...ต้องเริ่มต้นที่พ่อแม่ค่ะ Golden Ratio ความงามที่ลงตัว ฟี (Phi) คือตัวเลข 1.618...เป็นค่าคงที่ของธรรมชาติ ที่มีคุณสมบัติน่าทึ่ง และปรากฏตัวอยู่ในธรรมชาติ คน สัตว์และพืช ที่เรารู้จักกันดี เช่น พีระมิด อียิปต์ รูปภาพโมนาลิซ่า อัตราส่วนระหว่างเกลียวรอบเปลือกหอยนอติลุสอัตราส่วนของโครงสร้างร่างกายมนุษย์ ฯลฯ ซึ่งจะมีความงามได้ต้องมีสัดส่วนที่ลงตัวเสมอ รวมไปถึงดนตรีไพเราะจะต้องมีสัดส่วนที่ลงตังเช่นกัน นักดนตรีที่นำหลักการ Golden Ratio ไปใช้ เช่น โมซาร์ท หรือบาคเพลงของทั้งคู่มีความซับซ้อนและมีจังหวะ (Rhythm) ในสัดส่วนที่ลงตัวซึ่งเพลงของทั้งสองคนนักวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์แล้วว่า สามารถกระตุ้นการทำงานเชื่อมโยงกับประสาทในสมองโดยเฉพาะส่วนที่ทำงานด้านมิติสัมพันธ์และคณิตศาสตร์นั่นเอง. |
|
|
|
|
|
|
|
|
[ ที่มา...นิตยสาร MODERNMOM Vol.13 No.146 December 2007 ]
|
|
|
URL
Link :
http://www.panpublishing.com |
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
|
|
|
|