|
เมื่อรกลอกตัวก่อนกำหนด...! |
 |
|
|
|
วันที่ 31 มี.ค 2551 โดย รศ.นพ.ธีระพงศ์ เจริญวิทย์ |
|
|
|
|
|
|
|
|

รกลอกตัวก่อนกำหนดเป็นการลอกตัวของรกในตำแหน่งที่รกเกาะตัวปกติ (หมายถึงส่วนบนของมดลูก) ในช่วงเวลาก่อนการคลอดของทารก ซึ่งจะมีลักษณะ 3 ประการ ประการแรก มีการลอกตัวของทารก ประการที่สอง รกลอกตัวก่อนที่ทารกจะคลอด ประการที่สาม หากว่าการลอกตัวเกิดในตำแหน่งที่ผิดปกติ เช่น บริเวณปากมดลูกจะเป็นลักษณะของภาวะรกเกาะต่ำ ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดจะพบประมาณ 1 ใน 200 ราย ของการคลอด จากสถิติในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์นั้นพบได้ 1 ใน 667 รายของการคลอด และในระยะหลังมีแนวโน้มพบน้อยลงเนื่องจากสามารถวินิจฉัยได้เร็ว คุณแม่และลูกจึงได้รับการดูแลรักษาได้ทันท่วงที ทำให้ความรุนแรงของโรคลดลง แต่หากคุณแม่เคยมีภาวะนี้ในครรภ์ก่อน ก็มีโอกาสเกิดซ้ำสูงกว่าปกติถึง 3-10 เท่า หรือประมาณร้อยละ 0.4-4 สาเหตุรกลอกตัวก่อนกำหนด สำหรับสาเหตุยังไม่แน่ชัด แต่พบว่าเกี่ยวข้องกับภาวะต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. ความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่พบร่วมบ่อยที่สุด รวมทั้งความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ และความดันโลหิตสูงเรื้อรัง พบว่าร้อยละ 1.5 ของคุณผู้หญิงที่เป็นความดันโลหิตสูงเรื้อรัง จะเกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดมากกว่าปกติถึง 3-4 เท่า 2. ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์ จะพบภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดประมาณร้อยละ 3-5 ของกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะนี้ โดยมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดราว 3 เท่า 3. การสูบบุหรี่ ซึ่งพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในคนสูบบุหรี่ 4. โคเคน คุณแม่ที่ใช้โคนจะมีโอกาสเกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดสูงกว่าคุณแม่ที่ไม่ใช้ โดยอาจพบสูงถึงร้อยละ 13 5. เนื้องอกในมดลูก โดยเฉพาะเนื้องอกมดลูกในบริเวณที่รกเกาะจะทำให้เกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดได้มากกว่ากรณีที่ก้อนเนื้องอกไม่ได้อยู่บริเวณที่รกเกาะ ทราบอย่างไรว่า "รกลอก" อาการของคุณแม่ที่มีภาวะนี้ อาจมีลักษณะแตกต่างกันมาก เช่น บางรายมีเลือดออกทางช่องคลอดมาก แต่การลอกตัวของรกอาจจะน้อย หรือบางรายไม่มีเลือดออกทางช่องคลอดเลย แต่ทารกในครรภ์เสียชีวิตจากกรลอกตัวหมด อย่างไรก็ตาม ยังมีคุณแม่ถึงร้อยละ 22 ที่มีอาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โดยไม่ทราบสาเหตุ และไม่สามารถวินิจฉัยได้จนกระทั่งทารกในครรภ์เสียชีวิตหรืออยู่ในภาวะขาดออกซิเจน คุณหมอจะวินิจฉัยจากประวัติอาการ และอาการที่กล่าวมาแล้วโดยอาจเจาะถุงน้ำคร่ำเพื่อช่วยวินิจฉัย หากพบน้ำคร่ำมีสีเลือดปนบ่งว่ามีภาวะของรกลอกตัวก่อนกำหนดอยู่ นอกจากนี้ การเจาะถุงน้ำคร่ำยังเป็นประโยชน์ในการรักษา คือจะช่วยลดความดันในถุงน้ำคร่ำ การใช้คลื่นเสียงความถี่สูงจะช่วยในการวินิจฉัยได้ อาการแทรกซ้อน ภาวะแทรกซ้อนที่พบ ได้แก่ ภาวะช็อกซึ่งไม่สัมพันธ์กับปริมาณเลือดที่ออกจากช่องคลอด แต่เกิดไม่บ่อย ซึ่งปริมาณเลือดที่ทำให้เด็กในท้องเสียชีวิตนั้น ต้องเสียเลือดมากกว่าครึ่งหนึ่งของร่างกาย นอกจากนี้อาจพบการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ รวมทั้งภาวะไตวายเฉียบพลัน และอาจพบเลือดซึมเข้าไปในชั้นกล้ามเนื้อมดลูก คุณหมอช่วยรักษา การดูแลรักษา มีปัจจัยในการพิจารณาคือ อายุครรภ์ สภาพของมารดา และภาวะของทารกในครรภ์ โดยการดูแลแยกเป็น 2 แนวทาง คือ 1. การรอให้ทารกในครรภ์ครบกำหนด โดยจะรอให้การคลอดดำเนินไปตามปกติ แต่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด และเตรียมพร้อมที่จะทำให้คลอดทันที ถ้าพบว่าทารกมีภาวะขาดออกซิเจนเกิดขึ้น 2. การทำให้คลอด ในรายที่รกลอกตัวก่อนกำหนดร่วมกับมีเลือดออกมาก ควรให้การรักษาอย่างรีบด่วน โดยการให้เลือดมดแทนร่วมกับน้ำเกลือ และพยายามทำให้คลอดโดยเร็ว เพื่อรักษาชีวิตมารดาและทารก คุณหมอจะให้คลอดทางช่องคลอดกรณีที่มีสภาพของมารดาปกติ ทารกไม่อยู่ในภาวะขาดออกซิเจนมีการดำเนินการคลอดโดยปกติ ในกรณีทารกเสียชีวิตแล้ว รกลอกตัวก่อนกำหนด มักจะมีความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด ซึ่งเป็นปัญหาต่อการผ่าคลอด แต่การหดรัดตัวของมดลูกไม่ว่าจะใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวหรือการคลึงมดลูกจะไปบีบรัดเส้นเลือด โดยเฉพาะบริเวณที่รกลอกตัวออกไปแล้วช่วยให้เลือดหยุดไหลได้ ส่วนการผ่าท้องคลอดจะทำเมื่อเด็กยังมีชีวิตอยู่และอยู่ในภาวะขาดออกซิเจน กรณีที่แม่มีเลือดออกมาก จำเป็นต้องให้คลอดอย่างรวดเร็วเพื่อให้เลือดหยุด ปากมดลูกไม่พร้อมในการคลอด หรือมีการดำเนินการคลอดที่ผิดปกติ (แต่ควรระวังการผิดปกติในการแข็งตัวของเลือดของคุณแม่ด้วยครับ) การเจาะถุงน้ำคร่ำ นอกจากจะช่วยวินิจฉัยภาวะดังกล่าวแล้วคือช่วยลดความดันภายในถุงน้ำคร่ำช่วยให้มดลูกหดรัดตัวได้ดีขึ้น ในกรณีที่จำเป็นควรทำการผ่าตัดให้น้อยและรวดเร็วที่สุด เช่นมีการฉีกขาดของมดลูกจนไม่สามารถซ่อมแซมได้หรือมดลูกไม่หดรัดตัวแม้จะแก้ไขด้วยวิธีต่างๆ แล้วก็อาจต้องตัดมดลูกทิ้ง ภาวะนี้อาจทำให้คุณแม่พิการหรือเสียชีวิต สำหรับทารกก็อาจทำให้มีอัตราตายของทารกสูงได้ถึงร้อยละ 20-35 หรือส่วนที่รอดชีวิตอาจมีบกพร่องทางระบบประสาทในขวบปีแรกได้ ถ้าเลือดออกทางช่องคลอดพร้อมกับท้องแข็งเกร็งตลอดเวลาควรรีบตรวจให้แน่ใจ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงทั้งแม่และลูกครับ |
|
|
|
|
|
|
|
|
[ ที่มา...นิตยสารรักลูก ปีที่ 25 ฉบับที่ 300 มกราคม 2551 ]
|
|
|
URL
Link :
http://www.panpublishing.com |
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
|
|
|
|