|
ไฟดูด... อันตรายใกล้แค่เอื้อม |
 |
|
|
|
วันที่ 21 มี.ค 2551 โดย ธันยธรณ์ |
|
|
|
|
|
|
|
|

คุณพ่อคุณแม่ลองมองไปรอบๆ ตับดูนะคะ แล้วดูว่ามีของใช้อะไรบ้างในบ้านที่ต้องใช้ไฟฟ้า...แทบจะไม่มีเลยใช่ไหมคะ ทั้งตู้เย็น ทีวี เครื่องซักผ้า เครื่องดูดฝุ่น และ อื่นๆ อีกมากมาย ต่างก็ต้องอาศัยไฟฟ้าทั้งนั้น ไฟฟ้าจึงเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรา นั่นก็หมายความว่า อันตรายก็อยู่ใกล้ตัวเราด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะบ้านที่มีลูกในวัยอยากรู้อยากลอง โอกาสที่จะได้รับอันตรายจากการถูกไฟดูด ไฟช็อต นั้นมีมากแต่เราสามารถป้องกันได้ค่ะ ปลอดภัยไว้ก่อน - เด็กเล็กๆ มักจะชอบใช้นิ้วแหย่เข้าไปในรูปลั๊กไฟ คุณจึงควรหาซื้อแผ่นปิดรูปลั๊กไฟมาปิดเอาไว้ ทุกครั้งที่ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าออกก็ให้รีบปิดรูปลั๊กไฟทันที อย่าคิดว่าเดี๋ยวค่อยปิดก็ได้ เพราะช่วงเวลาสั้นๆ ที่รูปลั๊กไฟเปิดอยู่นั้นก็สามารถทำอันตรายลูกได้แล้ว
- กิ๊บติดผม ไม่จิ้มฟัน รวมทั้งของเล่นที่เป็นแท่งเล็กๆ ควรเก็บให้ห่าง เพราะเจ้าตัวเล็กจะชอบหยิบไปแหย่ในรูปลั๊กไฟดูดได้
- สำรวจสายไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดว่ายังอยู่ในสภาพดีอยู่หรือไม่ เพราะหากสายไฟมีการชำรุด แล้วบังเอิญลูกไปจับเล่นก็จะถูกไฟดูดได้
- ปลั๊กสามตา หลังใช้เสร็จแล้วให้ถอดปลั๊กแล้วม้วนเก็บทันทีเพื่อความปลอดภัย
- ทุกครั้งที่มีการเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า ต้องเสียบให้สนิทแน่นและต้องระวังอย่าให้ลูกเข้าใกล้เพราะถ้าเจ้าตัวเล็กไปดึงปลั๊กไฟเล่นอาจถูกไฟดูดได้
- ม้วนสายไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าเก็บให้เรียบร้อย อย่าให้ลูกหยิบมาเล่นได้ เพราะถ้าลูกนำไปเสียบที่ปลั๊กไฟอาจถูกไฟดูดได้
- อย่าให้ลูกถือแก้วน้ำเดินเข้าไปใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่กำลังทำงานอยู่ เช่น พัดลม วิทยุ เพราะถ้าลูกเทน้ำลงไปที่อุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านั้นจะทำให้เกิดการช็อตและเป็นอันตรายได้
- ถ้าเป็นไปได้ควรติดตั้งปลั๊กไฟให้สูงจากพื้นประมาณ 1.5 เมตร เพื่อความปลอดภัย
- การติดตั้งเครื่องตัดไฟอัตโนมัติในบ้านก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าให้กับทุกคนในบ้านได้
เตรียมพร้อมรับมือ หากเจ้าตัวเล็กถูกไฟดูด ขอให้คุณตั้งสติให้ดี อย่าผลีผลามเข้าไปดึงลูกด้วยมือเปล่าเพราะจะทำให้คุณได้รับอันตรายไปด้วย วิธีช่วยเหลือที่ถูกต้องคือ หากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายลูกยังสัมผัสอยู่กับปลั๊กไฟหรือสายไฟ ให้สับคัทเอาท์ลงเพื่อตัดไฟ หรืออาจจะใช้มีดหรือขวานที่มีด้ามเป็นไม้หรือมีฉนวนหุ้มกันไฟฟันสายไฟให้ขาดเพื่อตัดกระแสไฟฟ้านอกจากนี้ คุณอาจใช้วัตถุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า เช่น ผ้า สายยาง คล้องตัวลูกออกมาจากสายไฟ หรือใช้เขี่ยสายไฟออกจากตัวลูก ซึ่งถ้าจะให้ดี ตัวคุณเองควรจะยืนอยู่บนฉนวนป้องกันไฟ เช่น กองหนังสือ ผ้าห่ม กล่องไม้ หรือสวมรองเท้ายาง ขณะที่ให้การช่วยเหลือเพื่อความปลอดภัย หลังจากช่วยลูกออกมาได้แล้วให้รีบตรวจดูว่าหัวใจของลูกหยุดเต้นหรือไม่ โดยให้ใช้นิ้วคลำบริเวณลำคอเพื่อดูการเต้นของชีพจร ถ้าหัวใจหยุดเต้นให้รีบทำการนวดหัวใจและผายปอดทันที จากนั้นให้สำรวจดูว่ามีบาดแผลที่เกิดจากไฟดูดตามร่างกายหรือไม่มากน้อยแค่ไหน เพื่อจะได้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด ความรุนแรงของการบาดเจ็บที่เกิดจากไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าช็อตนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของกระแสไฟฟ้าและระยะเวลาที่ถูกไฟช็อต ถ้าเป็นเด็กเล็กและถูกไฟช็อตเป็นเวลานาน โอกาสที่จะได้รับอันตรายร้ายแรงก็มีมาก แต่สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นหรือเกิดได้น้อยมากหากคุณคอยระมัดระวังและไม่ประมาทค่ะ. |
|
|
|
|
|
|
|
|
[ ที่มา...นิตยสารบันทึกคุณแม่ No.173 December 2007 ]
|
|
|
URL
Link :
http://www.familydirect.com |
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
|
|
|
|