|
15 เคล็ดลับ... สอนลูกออม (แบบได้ผล) |
 |
|
|
|
วันที่ 14 มี.ค 2551 โดย นารา อาทิตยรักษ์ |
|
|
|
|
|
|
|
|

จะมีใครในโลกที่ช่วยให้เจ้าตัวเล็กของเราเรียนรู้เรื่องการออมได้ดีไปกว่าคนเป็นพ่อแม่อีกคะ ในเมื่อเราอยู่ใกล้ชิดเขาทุกวัน สิ่งที่เราคอยอบรมรวมทั้งพฤติกรรมการใช้เงินและการออมของเรานั่นล่ะค่ะที่เป็นต้นแบบในการปลูกฝังเขามาตั้งแต่เล็กแต่น้อย ถึงเราจะมองว่าเจ้าตัวเล็กยังเบบี๋ อายุแค่ไม่กี่ขวบคงไม่รู้เรื่องราวอะไรนัก แต่เขาเรียนรู้ได้จากทัศนคติเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ ของเรานี่เอง อะไรก็ตามที่เราสั่งสอนลูก ต้องสอดคล้องกับการรู้จักประหยัดอดออมในชีวิตประจำวันด้วยค่ะ เพราะเจ้าตัวเล็กน่ะเขาซึมซับพฤติกรรมของเราได้ดีกว่าคำอบรมสั่งสอนเสียอีก แม่ปูต้องเดินให้ตรงทางเสียก่อน ลูกปูถึงจะเดินตามได้ถูกทาง เพราะฉะนั้นมาดูกันดีกว่าว่ามีกี่วิธีที่จะช่วยให้ลูกของเราเรียนรู้การออมอย่างได้ผล 1. พ่อแม่เองต้องไม่บ้าช็อปปิ้ง ซื้อข้าวของไร้สาระ ของแพง หรือของอำนวยความสะดวกเกินจำเป็นเก็บไว้เต็มบ้านเข้าข่ายตัวอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอนค่ะ 2. ซื้อของมาแล้วใช้ให้คุ้มค่าอย่าทิ้งขว้าง เช่นอาหารหรือขนมที่เก็บไว้ในตู้เย็น พ่อแม่ทำเป็นตัวอย่างและสอนให้เขากินของที่มีอยู่ให้หมดก่อนค่อยซื้อใหม่ ของเก่าจะได้ไม่ต้องทิ้งไป 3. เวลาพาเขาไปซื้อของด้วย พ่อกับแม่อาจจะคุยกันเรื่องงบใช้จ่ายของวันนี้ ว่าจะใช้ไม่เกินเท่าไหร่ เปรียบเทียบราคาสินค้าที่ซื้อว่าอย่างไหนคุ้มค่าราคาสมเหตุสมผล 4. ซื้อผักผลไม้ตามฤดูกาล ถ้าลูกโตพอพูดกันรู้เรื่องก็อธิบายให้เขาฟังว่า การกินผักผลไม้ตามฤดูกาลประหยัดเงินได้มากกว่าตั้งหลายเท่า 5. กลับจากที่ทำงานมามีเศษสตางค์ทอนจากซื้อของหรือขึ้นรถเมล์ บอกลูกหน่อยว่าเงินนี้มาจากไหน แล้วหยอดกระปุกให้ลูกเห็น 6. เวลาได้รับใบเสร็จค่าน้ำค่าไฟ ก็พูดคุยถึงค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน ชวนกันหาวิธีใช้อย่างประหยัดให้ลูกได้ฟังด้วย 7. ถึงมีเงินมากก็อย่าให้เงินลูกแบบไม่มีขอบเขต ต้องให้ลูกเข้าใจว่าถึงมีเงินก็ต้องมีข้อจำกัดในการใช้ ไม่ใช่ใช้ตามใจชอบ 8. เวลาที่ลูกอยากได้อะไร อย่าบอกว่าไม่มีเงินทั้งๆ ที่พ่อแม่สามารถซื้อได้ แต่ควรอธิบายให้เข้าใจถึงเหตุผลที่ไม่ควรซื้อเพราะอะไร 9. ของเล่นราคาแพงเกินกว่าเหตุ ถึงลูกจะเก็บเงินจากี่คุณตาคุณยายให้ตอนเทศกาลต่างๆ ก็ต้องสอนให้ลูกเข้าใจว่าไม่มีใครได้ทุกอย่างที่ต้องการ บางอย่างก็ต้องห้ามใจ เพราะเงินมีจำนวนจำกัดสำหรับแบ่งใช้จ่ายในส่วนต่างๆ จึงต้องเลือกซื้อเฉพาะสิ่งที่จำเป็น มีคุณค่า ราคาสมเหตุสมผล 10. ถ้าลูกไม่รักษาของ ทำของหายบ่อย หรืออยากได้ของเกินจำนวนที่ตกลงกันไว้ คุณแม่ควรให้เขารับผิดชอบส่วนนั้นด้วยตัวเอง เพื่อฝึกให้รู้จักคามรับผิดชอบและรู้ค่าของเงิน 11. อย่าปล่อยให้ลูกดูทีวีวันละหลายๆ ชั่วโมง ดูโฆษณาบ่อยเพราะจะกระตุ้นให้ลูกอยากได้โน่นอยากได้นี่เกินวัยและเกินความจำเป็น เด็กๆ เชื่อง่ายเสียด้วยสิ 12. หากระปุกออมสินน่ารักให้ลูกไว้หยอดเงินค่าขนม หรือเงินทีได้จากคุณตาคุณยาย ครบเดือนก็ชวนกันนับสตางค์ ออกปากชมเมื่อมีเงินเก็บเพิ่มขึ้น ถ้าลูกโตขึ้นมาอีกหน่อยลองหากระปุกออมสินเพิ่มให้เขา มีกระปุกแยกไว้ใบหนึ่งเก็บไว้ซื้อของที่อยากได้ อีกใบเก็บไว้ไปฝากธนาคารเป็นเงินออม 13. พอเงินเต็มกระปุกพาลูกไปฝากเงินเข้าบัญชีธนาคารและอธิบายเรื่องการฝากเงินในธนาคารให้ลูกฟัง เขาจะภูมิใจกับจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น และดีใจที่ได้ดอกเบี้ยด้วย 14. ถ้าลูกคุ้นเคยกับการฝากเงินแล้ว ชวนเขาตั้งเป้าเก็บเงินเพิ่มขึ้นอีกหน่อย แล้วให้รางวัล เช่นพ่อแม่จะช่วยฝากเพิ่ม ถ้าเขาทำถึงเป้าที่วางไว้ 15. นอกจากเก็บเงินแล้ว คุณแม่ต้องสอนให้ลูกรู้จักเป็นผู้ให้ด้วยนะคะ เช่น แบ่งส่วนหนึ่งไว้พาเขาไปบริจาค หรือให้เก็บเงินไว้ตามกำลังสำหรับซื้อของขวัญให้คุณตาคุณยาย พี่ๆ น้องๆ ในวันเกิดหรือปีใหม่ค่ะ เคล็ดลับทั้ง 15 ข้อนี้ไม่ยากเลยใช่มั้ยคะถ้าจะทำ เพราะฉะนั้นแม่ปูเอ๋ยมาพาลูกเดินให้ตรงทางกันเถอะค่ะ |
|
|
|
|
|
|
|
|
[ ที่มา...Modernmom Vol.13 November 2007 ]
|
|
|
URL
Link :
http://www.planpublishing.com |
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
|
|
|
|