อ่านหนังสือหรือยังคะลูก... ยังคร้าบบ อ่านหนังสือแล้วใช่ไหมจ๊ะ เดี๋ยวจะอ่านครับ เหนื่อยไหมคะที่ต้องคอยบอกเจ้าตัวเล็กที่บ้านให้อ่านหนังสือบ่อยๆ แถมบอกไปแล้วลูกๆ ของคุณก็ยังอ่านบ้างไม่อ่านบ้าง เฮ้อ....เหนื่อยใจจริงจริ๊ง...แต่อย่าเพิ่งท้อเรามีคาถาที่จะมาช่วยเสกให้เด็กๆ ของคุณกลายเป็นหนอนหนังสือ มาค่ะมาเริ่มท่องคาถาทั้ง 9 บทกันเถอะ โอมมมม...........
1. ใช้บัตรสมาชิกห้องสมุดที่แม่สมัครไว้ให้เป็นประโยชน์
เท่าที่จะเร็วได้หรือเท่าที่ลูกโตพอที่จะอ่านหนังสือได้ให้คุณพาเขาไปสมัครเป็นสมาชิกห้องสมุดต่างๆ ไว้ได้เลยค่ะ ตามห้องสมุดทั่วๆ ไป เขาจะมีบัตรสมาชิกให้ เจ้าบัตรนี่เองค่ะจะเป็นตัวกระตุ้นความตื่นเต้นให้กับเด็กๆ และการเป็นเจ้าของบัตรสมาชิกห้องสมุดก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นแหล่งที่จะหาหนังสือมาอ่าน
2. เลือกหนังสือตามแต่ลูกจะสนใจแม่ไม่ว่า...
ให้เด็กๆ เลือกหนังสือที่เขาจะอ่านด้วยตัวเอง ไม่น่าจะเป็นหนังสือที่คุณเลือกให้ และจริงๆ แล้วแน่นอนว่าเล่มที่ลูกเลือกอาจเป็นหนังสือการ์ตูนหรือหนังสือรูปภาพสีสวยอื่นๆ ใจเย็นไว้เจ้าค่ะคุณพ่อคุณแม่นั่นน่ะถือเป็นการเริ่มต้นการอ่าน ไม่เป็นไรจริงๆ ค่ะ อย่าห่วง
3. ดูแม่เป็นตัวอย่างสิจ้ะ แม่อ่านอะไรให้ลูกอ่านตาม
หัวเราะดังๆ อย่างมีความสุขด้วยในตอนที่คุณอ่านหนังสือ ให้ลูกได้ยินแล้วเขาจะอยากรู้ว่าคุณหัวเราะอะไรในหนังสือ จากนั้นก็เปิดหน้าคุณอ่านอยู่ให้ลูกดูรูปหรืออ่าน ให้เขาเห็นตัวอย่างที่ดีจากคุณ อาจจะพูดเสริมด้วยว่า อ่านหนังสือก็สนุกแบบนี้ละน้า...
4. หาเวลามาอ่านหนังสือกับแม่
ช่วงเริ่มๆ ฝึกอ่าน อาจจะเป็น 3 ครั้งต่อสัปดาห์ที่คุณกับลูกจะใช้เวลาอ่านหนังสือด้วยกัน จากนั้นก็ค่อยๆ เพิ่มเวลา จนกลายเป็นอ่านด้วยกันทุกวัน มันจะเวิร์คมากถ้าคุณขยันอ่านหนังสือกับลูก
5. ตอบแม่มาหน่อยสิว่าลูกอ่านอะไรอยู่
อ้อ...อย่าทำแบบนี้ทุกหน้าแบบนี้ในหนังสือกับเด็กๆ นะคะ มันโหดร้ายเกินไปจริงๆ แล้วลูกเขาก็รู้ค่ะว่าคุณกำลังทำอะไรกับเขาอยู่ มันจะไปได้สวยกว่าถ้าคุณแกล้งถามคำถามว่า เอ๊... แม่สงสัยจังว่าเรื่องนี้มันเป็นยังไงกัน...
6. แม่จะปล่อยให้ลูกอ่านตามสบาย
ตารางเวลาอ่านหนังสือที่เคยกำหนดไว้ ลูกก็ไม่สะดวกที่จะทำตามนั้น... ฉีกมันทิ้งได้เลยค่ะ เพราะอะไรรู้ไหมคะ ก็เพราะว่าการอ่านควรจะเป็นไปแบบสนุกสนาน มันควรจะกดดัน ทดสอบ หรือจู้จี้ซักถามตารางเก็บไว้ทีหลังเถอะค่ะ
7. เอาล่ะ แม่จะอัดเสียงอ่านของลูกนะ...
ไม่มีอะไรสนุกเท่านั่งฟังเสียงตัวเองที่บันทึกไว้อีกแล้ว พยายามกระตุ้นให้เขาอ่านด้วยวิธีนี้ หลังอ่านจบเปิดเสียงที่คุณบันทึกไว้ให้เขาฟังแค่นี้เด็กๆ ก็อยากจะอ่านแล้ว แถมยังได้ฝึกทักษะการใช้เสียงด้วย
8. มาคุยกันเถอะ ว่าเรื่องนี้มีจริงไหม
หลังอ่านหนังสือหรือเรื่องรางต่างๆ จบ ลองชวนลูกคุยเปรียบเทียบดูว่าเรื่องแบบนั้นแบบนี้จะมีจริงไหม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่คุณเคยผ่านมาให้ลูกรู้บ้างก็แจ๋วเลย เพราะคราวต่อไปลูกจะขยันอ่านเพื่อที่จะได้มาฟังคุณเล่าเรื่องราวต่างๆ ให้ฟังยังไงล่ะ
9. อ่านดังๆ สิจ้ะลูกกก........
ถ้าเด็กๆ เริ่มฝึกออกเสียงคำนั้นนี้ให้ชัดเจนพร้อมๆ กับอ่านวิธีเยี่ยมสำหรับเด็กฝึกทักษะนี้คือการฝึกอ่านออกเสียงดังๆ นอกจากจะได้รู้น้ำหนักเบาของคำที่เปล่งเสียงแล้ว ถ้าลูกอ่านผิดคุณจะรู้และช่วยเขาได้
เด็กๆ ของคุณ ใกล้เคียงหนอนหนังสือหรือยังเอ่ยย... สู้ต่อไปค่ะ ที่สำคัญอย่าทำโทษเด็กๆ เชียวนะคะถ้าเขาจะขี้เกียจบ้าง ปล่อยให้เขามีอิสระในการเลือกอ่านโดยมีคุณเป็นผู้ช่วยชี้นำทาง รับรองว่ามันเวิร์คกว่าบังคับขู่เข็ญ จริงๆ นะ